Thumb

สรุปย่อ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก

เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน

        ประกาศวันที่ 2 ต.ค.2546 และ บังคับใช้วันที่ 30 มี.ค.2547

    พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ตราขึ้นโดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

    ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย ของ รัฐธรรมนูญ

  • หลักการจำ : วันบังคับใช้ เมื่อพ้น 180 วันนับตั้งแต่วันประกาศ

 

ผู้รักษาการ คุ้มครองเด็กแห่งชาติ

  1. รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เป็นประธาน)
  2. รมว.กระทรวงมหาดไทย
  3. รมว.กระทรวงศึกษา
  4. รมว.ยุติธรรม
  • หลักการจำ : มนุษย์ +มหาดไทย+ศึกษา+ยุติธรรม

 

มี 9 หมวด 88 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล

  1. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
  2. การปฏิบัติต่อเด็ก
  3. การสงเคราะห์เด็ก
  4. การคุ้มครองสวัสดิการเด็ก
  5. ผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็ก
  6. สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู
  7. การสงเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
  8. กองทุนคุ้มครองเด็ก
  9. บทกำหนดโทษ

 

  1. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ    รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เป็นประธาน)
  2. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ    ผู้ว่าราชการกรุงเทพ (เป็นประธาน)
  3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด    ผู้ว่าราชการจังหวัด (เป็นประธาน)
  • อำนาจการอนุมัติ อนุญาต แต่งตั้ง ยกเลิก เป็นของปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  1. มาตรา 7 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ มี 25 คน
ตำแหน่ง จำนวน หมายเหตุ
ประธาน รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1
รองประธาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1
กรรมการ
  1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  2. ปลัดกระทรวงยุติธรรม
  3. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  4. อัยการสูงสุด
  5. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  6. อธิบดีกรมการปกครอง
  7. อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  8. อธิบดีกรมสุขภาพจิต
  9. อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
  10. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก
10
ผู้ทรงคุณวุฒิ (รมว.สังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้ง) ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ ไม่น้อยกว่า 7 ปี วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่า 7 ปีอีก 2 คน 12 เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3
กรรมการและเลขานุการกรรมการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1
  • คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่
  1. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณและมาตรการในการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
  2. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและระเบียบ
  3. วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
  4. วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๔๗
  5. วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
  6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจ หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กทั้งของรัฐและเอกชน
  7. ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
  8. ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก

 

  1. มาตรา 16 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ มี 25 คน
ตำแหน่ง จำนวน หมายเหตุ
ประธาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพ 1
รองประธาน ปลัดกรุงเทพมหานคร 1
กรรมการ
  1. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
  2. ผู้แทนกองบัญชาการตำรวจนครบาล
  3. ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  4. ผู้แทนศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
  5. ผู้แทนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง
  6. ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก
  7. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน
  8. ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา
  9. ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
  10. ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์
10
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้ง) ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมี ผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีก 2 คน 12 เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3
กรรมการและเลขานุการกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม 1

 

  1. มาตรา 17 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด มี 24 คน
ตำแหน่ง จำนวน หมายเหตุ
ประธาน ผู้ว่าราชการจังหวัด 1
รองประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด 1
กรรมการ
  1. อัยการจังหวัด
  2. พัฒนาการจังหวัด
  3. แรงงานจังหวัด
  4. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  5. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
  6. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด
  7. ผู้แทนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
  8. ผู้แทนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด
  9. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
9 คนขึ้นไป
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้ง) ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีก 2 คน 12 เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3
กรรมการและเลขานุการกรรมการ พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด 1
  • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่
  1. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณ
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
  3. กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด
  4. จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด แล้วแต่กรณี
  5. ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีมีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ
  6. เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ หรือขอคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวินิจฉัยในการปฏิบัติหน้าที่
  7. ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด แล้วแต่กรณี แล้วรายงานผลต่อคณะกรรมการ
  8. ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายมาตรา ๒๑

 

  1. มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
  2. มาตรา 23 ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กอยุ่ในการปกครองดูแลของตน ตามควรแก่ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
  3. มาตรา 24

       1. ปลัดกระทรวง

       2. ผู้ว่าราชการจังหวัด

       3. ผู้อำนวยการเขต

       4. นายอำเภอ

       5. ปลัดเป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

       6. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและให้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

  4. มาตรา 29 ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ ต้องช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยมิชักช้า
  • พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจและหน้าที่
  1. เข้าไปเคหสถาน สถานที่ใด ๆ ยานพาหนะใด ๆ สถานประกอบการของนายจ้างในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น
  2. ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเด็กต้องได้รับการคุ้มครอง กักตัวได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  3. มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง
  4. ออกคำสั่งเป็นหนังสือ
  5. มอบตัวเด็กให้ผู้ปกครอง พร้อมกับแนะนำหรือตักเตือนผู้ปกครองให้ดูแล
  6. ทำรายงานเกี่ยวกับตัวเด็ก เพื่อมอบให้ สถานรับเลี้ยง

 

   เด็กพึงได้รับการสงเคราะห์มี 8 ประเภท

  1. เด็กเร่ร่อน
  2. ถูกทอดทิ้ง
  3. พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงได้ เช่น ติดคุก
  4. พ่อแม่พฤติกรรมไม่เหมาะ
  5. เลี้ยงไม่ดี
  6. เด็กพิการ
  7. สภาพยากลำบาก
  8. สภาพจำต้องสงเคราะห์
  • เด็กอยู่ในระหว่างการรับการสงเคราะห์ ถ้าผู้ปกครองร้องขอและเห็นว่าสามารถเลี้ยงได้ ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้พ้นจากการสงเคราะห์ได้
  • บุคคลที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่อยู่ในสภาพไม่พร้อมให้อยู่ต่อไปอีกถึง 20 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าดูแล้วน่าจะไปไม่รอดให้ต่อจนถึงที่สุดอายุ 24 ปีบริบูรณ์ โดยการพิจารณาจากปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด

   สิทธิของผู้ปกครองนำคดีไปสู่ศาล ในเขตท้องที่นั้น ภายใน 120 วัน

  • ในกรณีรับเด็กไปแล้ว แต่มีพฤติกรรมน่าเชื่อว่าจะเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้คำแนะนำ ภ้าไม่ทำตามให้ยื่นคำขอต่อ ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดเป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เรียกทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำต่อเด็กอีกและให้วางเงินประกัน แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกิน 2 ปี

 

   เด็กพึงได้รับคุ้มครองสวัสดิการเด็กมี 3 ประเภท

  1. ถูกทารุณกรรม
  2. เสี่ยงต่อการกระทำผิด
  3. เด็กที่อยูในสภาพที่จำเป็นได้รับการคุ้มครอง
  1. มาตรา 42 ต้องรีบตรวจรักษาร่างกายและจิตใจ ถ้าเจ้าพนักงานเห็นสมควรต้องสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว เพื่อส่งไปสถานแรกรับ แต่ถ้าต้องฟื้นฟูสภาพจิตใจให้รีบส่งไปสถานพัฒนาและฟื้นฟู ให้กระทำไม่เกิน 7 วันขยายต่อไปได้ไม่เกิน 30 วัน
  2. มาตรา 43 ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นดูแล้วทำทารุณเด็ก ศาลสามารถออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมกักขัง แต่ครั้งละไม่เกิน 30 วัน

 

  • การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็ก ให้ยื่นขอต่อ ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
  • การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กคราวละไม่เกิน 2 ปี
  • การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กตามกฎกระทรวงหรือระเบียบให้ใช้บังคับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
  • กฎกระทรวงหรือระเบียบให้ใช้บังคับ
  • ผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กมีอำนาจหน้าที่
    1. เยี่ยมเยือน ให้คำปรึกษา แนะนำ และตักเตือนและการประกอบอาชีพแก่เด็ก
    2. เยี่ยมเยือน ให้คำปรึกษา แนะนำผู้ปกครอง เรื่องการอบรมสั่งสอน
    3. จัดทำรายงานเสนอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด

 

  • ปลัดกระทรวง มีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ทั่วราชอาณาจักร
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ภายใจังหวัดนั้น
  • ในสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องไม่ดำเนินการในลักษณะแสวงหาผลกำไรในทางธุรกิจ และต้องมีผู้ปกครองสวัสดิภาพ เป็นผู้ปกครองดูแลและบังคับบัญชา
  • สถานรับเลี้ยงเด็ก แสวงหาผลกำไรได้
  • ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้ปกครองสวัสดิภาพ

 

  • โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาฝึกอบรมแก่นักเรียน
  • นักเรียน นักศึกษาต้องแต่งกายตามโรงเรียนหรือสถานศึกษา

 

  • รัฐบาลให้งบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรียก "กองทุนคุ้มครองเด็ก"
  • กองทุนประกอบด้วย
    1. เงินทุนประเดิมจากรัฐบาลจัดสรรให้
    2. เงินที่ได้จากงบประมาณประจำปี
    3. เงินที่ได้จากบริจาคหรือมอบให้
    4. เงินอุดหนุนจากต่างประเทศ
    5. ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินจากกองทุน
  • เงินและดอกผลที่ได้รับ ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
  1. มาตรา 71 คณะกรรมการกองทุนคุ้มครองเด็ก มี 9 คน
ตำแหน่ง จำนวน
ประธาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1
กรรมการ
  1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
  2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  3. ผู้แทนสำนักงบประมาณ
  4. ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
4
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งได้ไม่เกิน 3 คน และผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน 3
กรรมการและเลขานุการกรรมการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1

 

   โทษตามพรบ.คุ้มครองเด็กมี 3 ระดับ

         หลักการจำ 1:1 3:3 6:6

         จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

            ข้อหา : ขัดขวางเจ้าหน้าที่ , ให้ถ้อยคำเป็นเท็จ , สถานรับเลี้ยงเถื่อน , ใบอนุญาตหมดอายุ , ไม่อำนวยความสะดวก


         จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

            ข้อหา : ทารุณกรรม , การบังคับขู่เค้น , โฆษณาหรือเผยแพร่เพื่อรับเด็กลงเว็บไซต์ , จำหน่ายสุรา บุหรี่


         จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

            ข้อหา : ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรืผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเปิดเผยชื่อเด็ก ลงคลิปนักเรียนตีกัน ภาพหลุด , เจ้าหน้าที่พนักงานคุ้มครองทำร้ายจิตใจ กักขัง ลงโทษด้วยวิธีรุนแรง


 

   

เกร็ดความรู้

         เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

         เด็กเร่ร่อน หมายถึง เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ หรือเด็กที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

         เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฎบิดามารดา หรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

         เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายถึง ครอบครัวยากจน บิดามารดาหย่าร้าง แยกกันอยู่ ต้องรับภาระหน้าที่ครอบครัว ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

         เด็กพิการ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าจะตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง

         เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร ประกอบอาชีพหรือสภาพแวดล้อมหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี

         ทารุณกรรม หมายถึง กระกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ กระทำผิดทางเพศต่อเด็ก ใช้เด็กให้ทำในลักษณะที่อันตรายหรือขัดต่อกฎหมาย

         สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ และมีจำนวน 6 คนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของ ไม่รวมถึงสถานพยาบาล

         สถานแรกรับ หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราว เพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ

         สถานสงเคราะห์ หมายถึง สถานที่อุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป

         สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายถึง สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แก่เด็ก

         สถานพัฒนาและฟื้นฟู หมายถึง สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดตั้งเพื่อให้การบำบัดรักษา ตลอดจนการศึกษา แนะแนว และฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่ต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นพิเศษ

         สถานพินิจ หมายถึง สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

         ช่วยเหลือเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าไปเคหสถาน สถานที่ใด ๆ ยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น

         นักเรียน เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภท สามัญศึกษา และอาชีวศึกษา หรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

         นักศึกษา เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

         บิดามารดา บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่

         ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย

         การเลี้ยงดูโดยมิชอบ การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

         ครอบครัวอุปถัมภ์ บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร



เอกสารอ้างอิง