Thumb

สรุปย่อ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เกี่ยวกับ กคศ. และ อกคศ.

 

ปี 2547

        ประกาศวันที่ 23 ธันวาคม 2547 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 24 ธันวาคม 2547

เพื่อให้เอกภาพทางด้านนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด

 

ปี 2551

        ประกาศวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551

การบริหารงานบุคคลไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

 

ปี 2553

        ประกาศวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 23 กรกฎาคม 2553

จากการแยกเขตพื้นที่ประถมศึกษากับเขตพื้นที่มัธยมศึกษาทำให้ต้องปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการให้สอดคล้องกับการบริหารงานบุคคล

 

   

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

         1. พรบ.การศึกษา

         2. พรบ.ระเบียบริหารราชการกระทรวงศึกษา

         3. พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

  1. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.)

         รมว.กระทรวงศึกษา เป็นประธาน

         ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน

         มีคณะกรรมการ 31 คน

 

  1. คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อกคศ.)

         2+ 4+ 3+1 = 10 คน

         2 คือ กรรมการโดยตำแหน่ง

            - ผู้แทนจาก กคศ.

            - ผู้แทนคุรุสภา

         4 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ

            - เลือกคนใดคนหนึ่งเป็นประธาน

         3 คือ ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

            - ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา

            - ผู้แทนข้าราชการครูผู้สอน

            - ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา

         1 คือ ให้ ผอ.เขต เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

 

การเลื่อนขั้นปีละ 2 ครั้ง

         เลื่อนขั้นครั้งที่ 1    1 เมษายน ปีถัดไป

         เลื่อนขั้นครั้งที่ 2    1 ตุลาคม ปีถัดไป

  • รวมทั้งปีไม่เกิน 2 ขั้น

 

  1. คุณสมบัติทั่วไป
  1. สัญชาติไทย
  2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  3. ผู้เลื่อมใสประชาธิปไตย กษัตริย์เป็นประมุข
  4. ไม่ดำรงการเมือง
  5. ไม่บ้า
  6. ไม่ถูกสั่งพักราชการ หรือไล่ออก
  7. ไม่ผิดศีลธรรม ประกอบวิชาชีพ
  8. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง
  9. ไม่เป็นคนล้มละลาย
  10. ไม่เคยต้องโทษติดคุก
  11. ไม่เคยถูกปลดออก ไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ
  12. ไม่เคยถูกปลดออก ไล่ออกจากกระทำผิดวินัย
  13. ไม่เป็นผู้ทุจริตการสอบราชการ

 

  1. เงินวิทยฐานะและเงินประจำตัวแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน

 

  1. ตำแหน่งข้าราชการครู
  • ก. ตำแหน่งผู้สอน
  1. ครูผู้ช่วย (สอนหน่วยงานใดก็ได้)
  2. ครู (สอนหน่วยงานใดก็ได้)
  3. อาจารย์ (ปริญญา)
  4. ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ (ปริญญา)
  5. รองศาสตราจารย์ (ปริญญา)
  6. ศาสตราจารย์ (ปริญญา)
  • ข. ตำแหน่งผู้บริหาร
  1. รอง ผอ.สถานศึกษา (สถานศึกษา)
  2. ผอ.สถานศึกษา (สถานศึกษา)
  3. รอง ผอ.เขต (ในสำนักงานเขต)
  4. ผอ.เขต (ในสำนักงานเขต)
  5. ตำแหน่งตาม ก.ค.ศ. (ในสำนักงานเขต)
  • ค. ตำแหน่งบุคลากรอื่น
  1. ศึกษานิเทศก์
  2. ตำแหน่งตาม ก.ค.ศ. กำหนด

 

  1. วิทยฐานะ
  • ก. ตำแหน่งผู้ครู
  1. ครูชำนาญการ (3,500)
  2. ครูชำนาญการพิเศษ (5,600+)
  3. ครูเชี่ยวชาญ (9,900+)
  4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (13,000)
  • ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
  1. รองชำนาญการ
  2. รองชำนาญการพิเศษ
  3. รองเชี่ยวชาญ
  4. ผอ.ชำนาญการ
  5. ผอ.ชำนาญการพิเศษ
  6. ผอ.เชี่ยวชาญ
  7. ผอ.เชี่ยวชาญ พิเศษ
  • ค. ตำแหน่งผู้บริหารทางการศึกษา
  1. รอง ผอ.เขตชำนาญการพิเศษ
  2. รอง ผอ.เขตเชี่ยวชาญ
  3. ผอ.เขตเชี่ยวชาญ
  4. ผอ.เขตเชี่ยวชาญพิเศษ
  • ง. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์
  1. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
  2. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
  3. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
  4. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ

 

  1. โทษทางวินัย มี 5 สถาน คือ
  1. ภาคทัณฑ์
  2. ตัดเงินเดือน
  3. ลดขั้นเงินเดือน
  4. ปลดออก (ความผิดวินัยร้ายแรง)
  5. ไล่ออก (ความผิดวินัยร้ายแรง)

 

   

ความผิดร้ายแรง

         - ขาดงานเกิน 15 วัน

         - กลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหงผู้เรียน

         - คัดลอกผลงานทางวิชาการคนอื่น

         - เสพยาเสพติด

         - เล่นการพนันตลอด

         - ล่วงละเมิดทางเพศ

         - ขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยง ว่าด้วยกฎหมายระเบียบราชการ

         - ซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้ง

         - ทำความผิดอาญา จนต้องโทษจำคุกหรือหนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป้นความผิดลหุโทษ

         - ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ถ้าไม่เป็นประโยชน์ให้ทำเป็นหนังสือภายใน 7 วัน

 

  1. การดำเนินการทางวินัย
  1. วินัยไม่ร้ายแรง
  2.      ผู้ที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน "ผอ.โรงเรียน"

  3. วินัยร้ายแรง
  4.      ผู้ที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน

              - เขตพื้นที่เดียวกัน "ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา"

              - ต่างเขตพื้นที่ "เลขธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน"

 

  1. การอุทธรณ์และร้องทุกข์
  1. อุทธรณ์
  2.      ความผิดไม่ร้ายแรง "อุทธรณ์ อกคศ. เขตพื้นที่"

         ความผิดร้ายแรง "อุทธรณ์ กคศ. "

  3. ร้องทุกข์
  4.           - ให้ไปที่ "อกคศ."

              - กคศ. แล้วแต่กรณี "ให้เป็นคำวินิจฉัยที่สุด"

  • ถ้าไม่ยอมรับให้ไปที่ ศาลปกครอง

 

  1. การออกจากราชการ
  1. ตาย
  2. เกษียณอายุ
  3. ลาออก
  4. ให้ออก
  5. ปลดออกหรือไล่ออก
  6. ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
  • ต้องยื่นหนังสือลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน
  • ผู้อนุญาตยับยั้งไม่เกิน 90 วัน ครั้งเดียว

 

   

เกร็ดความรู้

         วิชาชีพ หมายถึง วิชาชีพครู วิชาชีพบริหารการศึกษา และวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น

         หน่วยงานการศึกษา หมายถึง สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แหล่งเรียนรู้ตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่

         ส่วนราชการ หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นกรมหรือเทียบเท่ากรม

         กรรมการผู้แทน ผอ.รร. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 5 ปี

         กรรมการผู้แทน ครู ไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ หรือมีประสบการณ์สอนไม่น้อยกว่า 15 ปี

         ให้มี สำนักงาน ก.ค.ศ. มีเลขาธิการ ก.ค.ศ. มีฐานะเป็น อธิบดี

         ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการครู ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

         ตำแหน่งผู้สอน ในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ช่วย ครู อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์

         ตำแหน่งครู มีวิทยฐาน ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

         ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู

         เงินวิทยพัฒน์ เป็นเงินที่ให้ผู้มีผลงานดีเด่นหรือผู้ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ตามระเบียบ ก.ค.ศ.



เอกสารอ้างอิง