Thumb

สรุปย่อ กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 11 มิ.ย.2546 มีผลบังคับใช้ 12 มิ.ย.2546

ฐานะคุรุสภา ตั้งมาตั้งแต่ 2488 ตราสํญลักษณ์ พระพฤหัสบดี

 

หมวด 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

    ส่วนที่ 1 บททั่วไป

    ส่วนที่ 2 คณะกรรมการคุรุสภา

    ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

    ส่วนที่ 4 การดำเนินงานของคุรุสภา

    ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม

    ส่วนที่ 6 สมาชิกคุรุสภา

 

หมวด 2 คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

    ส่วนที่ 1 บททั่วไป

    ส่วนที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

หมวด 3 การกำกับดูแล

 

หมวด 4 บทกำหนดโทษ

 

ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (เป็นวิชาชีพควบคุม)

    1.ครู

    2.ผู้บริหารสถานศึกษา

    3.ผู้บริหารทางการศึกษา

    4.บุคคลทางการศึกษาอื่น เช่น ศึกษานิเทศก์

 

สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

  มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

มีหน้าที่

    1.การออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

    2.กำหนดนโยบายวิชาชีพ

    3.ส่งเสริมและวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ

*หลักๆ บริหารและให้คำปรึกษา

*คนกำกับดูแล "รมว กระทรวงศึกษาธิการ"

 

นโยบาย คือ คณะกรรมการคุรุสภา

ปฏิบัติ คือ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

 

ส่วนที่ 2 คณะกรรมการคุรุสภา

  • ประธานคุรุสภา "นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์" ( ครม เป็นคนแต่งตั้ง)

    คณะกรรมการคุรุสภา 12 คน

    เลขาธิการคุรุสภา "ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์" ( ให้คณะกรรมการเลือก)

 

ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

  • ประธาน "ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง"

    คณะกรรมการ 17 คน

    ผู้ทรงคุณวุฒิใน 39 คนที่จะเป็นประธาน

 

การขอทะเบียนประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

คุณสมบัติ

    1.อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

    2.มีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา

    3.การสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี

 

ใบประกอบวิชาชีพมี 4 ประเภท

    1.ใบประกอบวิชาชีพครู (ใบใช้ได้ 5 ปี)

    2.ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา (ใบใช้ได้ 5 ปี)

    3.ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษา

    4.ใบประกอบวิชาชีพบุคคลทางการศึกษาอื่น (ยื่นกับเลขาธิการคุรุสภา)


*** ขอต่อใบอนุญาต ขอก่อนหมดอายุ ไม่น้อยกว่า 180 วัน

*** ยื่นต่ออายุ เลขาธิการคุรุสภา

*** อุทรณ์ต่อ คณะกรรมการคุรุสภา

 

ห้ามบุคคลมีใบประกอบวิชาชีพ

    1.พฤติกรรมเสื่อมเสีย

    2.คนที่ไร้ความสามารถ

    3.ผู้ต้องคุกในคดีที่คุรุสภาว่าเสื่อมเสีย

 

ประกอบวิชาชีพโดยไม่ต้องมีใบอนุญาต

  1. วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
  2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
  3. นักศึกษาฝึกสอน
  4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยศัย
  5. ผู้ที่สอนในศูนย์การเรียน
  6. คณาจารย์ ผู้บริหารในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
  7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
  8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

 

มาตรฐานวิชาชีพ 3 มาตรฐาน

  1. ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
  2. การปฏิบัติงาน (12 ด้าน)
  3. การปฏิบัติตน (จรรยาบรรณ 5 ด้าน)

 

จรรยาบรรณวิชาชีพ

  1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
  2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
  4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
  5. จรรยาบรรณต่อสังคม

 

โทษจรรยาบรรณ 5 สถาน

  1. ยกข้อกล่าวหา
  2. ตักเตือน
  3. ภาคทัณฑ์
  4. พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
  5. เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
  • ปล. พื้นฐานการจำ ยก + ตัก + ภาค + พัก + เพิก
  • อุทรณ์ต่อ คณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

 

สมาชิกคุรุสภา

  1. สามัญ
  2. กิติมศักดิ์
  • ใบอนุญาตประกอบ ลงนาม ประธานกรรมการคุรุสภา
  • บัตรประจำตัว ลงนาม เลขาธิการคุรุสภา นายทะเบียน

 

คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

  • คณะกรรมการมี 23 คน
  • ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์
  • เป็นนิติบุคคลในกำกับของกระทรวง

 

บทกำหนดโทษ

  • จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  •     ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ

  • จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
  •     - แสดงตนได้ว่าประกอบวิชาชีพ โดยไม่เป้นจริง คือโกหก

        - ผอ. รับคนไม่มีใบประกอบวิชาชีพมาสอน

        - สั่งพักหรือถูกเพิกถอน

 

ค่าธรรมเนียม

  1. ขึ้นทะเบียน 500 บาท
  2. ต่อทะเบียน 200 บาท
  3. รับรอง 300 บาท
  4. อนุมัติ 400 บาท
  5. ใบแทน 200 บาท
  • ปล. พื้นฐานการจำ (ต่อ=2 , แทน= 2 , รับ=3 , อนุมัติ= 4 ,ขึ้น=5)
  • ผู้กำหนดค่าธรรมเนียม คณะรัฐมนตรี (ครม.)

 

   

เกร็ดความรู้

         เลขาธิการคณะกรรมการฯ มีวาระคราวละ 4 ปี อยู่เกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้

         ผู้ตรวจสอบภายใน ขึ้นตรงต่อ ประธานกรรมการคุรุสภา

         มติที่จะให้เลขาธิการคุรุสภาออกจากตำแหน่ง ต้องไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่

         คณะกรรมการคุรุสภา มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอน เลขาธิการคุรุสภา

         กรรมการที่มาจากครู ต้องสอนรวมกันไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ขึ้นไป

         สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า คุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

         ครู หมายถึง บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักด้านการสอน ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

         หน่วยงานการศึกษา หมายถึง สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กำกับดูแล ส่งเสริมให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน

         สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน ที่จัดการศึกษา



เอกสารอ้างอิง