
สรุปย่อ กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองเด็ก
เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน
ประกาศวันที่ 2 ต.ค.2546 และ บังคับใช้วันที่ 30 มี.ค.2547
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ตราขึ้นโดย คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย ของ รัฐธรรมนูญ
- หลักการจำ : วันบังคับใช้ เมื่อพ้น 180 วันนับตั้งแต่วันประกาศ
ผู้รักษาการ คุ้มครองเด็กแห่งชาติ
- รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เป็นประธาน)
- รมว.กระทรวงมหาดไทย
- รมว.กระทรวงศึกษา
- รมว.ยุติธรรม
- หลักการจำ : มนุษย์ +มหาดไทย+ศึกษา+ยุติธรรม
มี 9 หมวด 88 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
- การปฏิบัติต่อเด็ก
- การสงเคราะห์เด็ก
- การคุ้มครองสวัสดิการเด็ก
- ผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็ก
- สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู
- การสงเสริมความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
- กองทุนคุ้มครองเด็ก
- บทกำหนดโทษ
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เป็นประธาน)
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ (เป็นประธาน)
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด (เป็นประธาน)
- อำนาจการอนุมัติ อนุญาต แต่งตั้ง ยกเลิก เป็นของปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- มาตรา 7 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ มี 25 คน
ตำแหน่ง | จำนวน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ประธาน | รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 1 | |
รองประธาน | ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 1 | |
กรรมการ |
|
10 | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ (รมว.สังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้ง) ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน | ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ ไม่น้อยกว่า 7 ปี วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่า 7 ปีอีก 2 คน | 12 | เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3 |
กรรมการและเลขานุการกรรมการ | รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 1 |
- คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่
- เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณและมาตรการในการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
- เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและระเบียบ
- วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
- วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๔๗
- วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจ หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กทั้งของรัฐและเอกชน
- ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
- ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
- มาตรา 16 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ มี 25 คน
ตำแหน่ง | จำนวน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ประธาน | ผู้ว่าราชการกรุงเทพ | 1 | |
รองประธาน | ปลัดกรุงเทพมหานคร | 1 | |
กรรมการ |
|
10 | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้ง) | ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมี ผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีก 2 คน | 12 | เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3 |
กรรมการและเลขานุการกรรมการ | ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม | 1 |
- มาตรา 17 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด มี 24 คน
ตำแหน่ง | จำนวน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ประธาน | ผู้ว่าราชการจังหวัด | 1 | |
รองประธาน | รองผู้ว่าราชการจังหวัด | 1 | |
กรรมการ |
|
9 คนขึ้นไป | |
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้ง) | ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละ 2 คน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีก 2 คน | 12 | เป็นสตรีไม่น้อย 1 ใน 3 |
กรรมการและเลขานุการกรรมการ | พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด | 1 |
- คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่
- เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
- กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด
- จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด แล้วแต่กรณี
- ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีมีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ
- เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ หรือขอคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวินิจฉัยในการปฏิบัติหน้าที่
- ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด แล้วแต่กรณี แล้วรายงานผลต่อคณะกรรมการ
- ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายมาตรา ๒๑
- มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
- มาตรา 23 ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กอยุ่ในการปกครองดูแลของตน ตามควรแก่ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
- มาตรา 24
1. ปลัดกระทรวง
2. ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ผู้อำนวยการเขต
4. นายอำเภอ
5. ปลัดเป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
6. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและให้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
- มาตรา 29 ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ ต้องช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยมิชักช้า
- พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจและหน้าที่
- เข้าไปเคหสถาน สถานที่ใด ๆ ยานพาหนะใด ๆ สถานประกอบการของนายจ้างในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น
- ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเด็กต้องได้รับการคุ้มครอง กักตัวได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
- มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง
- ออกคำสั่งเป็นหนังสือ
- มอบตัวเด็กให้ผู้ปกครอง พร้อมกับแนะนำหรือตักเตือนผู้ปกครองให้ดูแล
- ทำรายงานเกี่ยวกับตัวเด็ก เพื่อมอบให้ สถานรับเลี้ยง
เด็กพึงได้รับการสงเคราะห์มี 8 ประเภท
- เด็กเร่ร่อน
- ถูกทอดทิ้ง
- พ่อแม่ไม่สามารถเลี้ยงได้ เช่น ติดคุก
- พ่อแม่พฤติกรรมไม่เหมาะ
- เลี้ยงไม่ดี
- เด็กพิการ
- สภาพยากลำบาก
- สภาพจำต้องสงเคราะห์
- เด็กอยู่ในระหว่างการรับการสงเคราะห์ ถ้าผู้ปกครองร้องขอและเห็นว่าสามารถเลี้ยงได้ ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้พ้นจากการสงเคราะห์ได้
- บุคคลที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่อยู่ในสภาพไม่พร้อมให้อยู่ต่อไปอีกถึง 20 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าดูแล้วน่าจะไปไม่รอดให้ต่อจนถึงที่สุดอายุ 24 ปีบริบูรณ์ โดยการพิจารณาจากปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
สิทธิของผู้ปกครองนำคดีไปสู่ศาล ในเขตท้องที่นั้น ภายใน 120 วัน
- ในกรณีรับเด็กไปแล้ว แต่มีพฤติกรรมน่าเชื่อว่าจะเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้คำแนะนำ ภ้าไม่ทำตามให้ยื่นคำขอต่อ ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดเป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เรียกทำทัณฑ์บนว่าจะไม่กระทำต่อเด็กอีกและให้วางเงินประกัน แต่จะเรียกประกันไว้ได้ไม่เกิน 2 ปี
เด็กพึงได้รับคุ้มครองสวัสดิการเด็กมี 3 ประเภท
- ถูกทารุณกรรม
- เสี่ยงต่อการกระทำผิด
- เด็กที่อยูในสภาพที่จำเป็นได้รับการคุ้มครอง
- มาตรา 42 ต้องรีบตรวจรักษาร่างกายและจิตใจ ถ้าเจ้าพนักงานเห็นสมควรต้องสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว เพื่อส่งไปสถานแรกรับ แต่ถ้าต้องฟื้นฟูสภาพจิตใจให้รีบส่งไปสถานพัฒนาและฟื้นฟู ให้กระทำไม่เกิน 7 วันขยายต่อไปได้ไม่เกิน 30 วัน
- มาตรา 43 ผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นดูแล้วทำทารุณเด็ก ศาลสามารถออกคำสั่งให้ตำรวจจับกุมกักขัง แต่ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
- การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็ก ให้ยื่นขอต่อ ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
- การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กคราวละไม่เกิน 2 ปี
- การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กตามกฎกระทรวงหรือระเบียบให้ใช้บังคับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎกระทรวงหรือระเบียบให้ใช้บังคับ
- ผู้คุ้มครองสวัสดิการเด็กมีอำนาจหน้าที่
- เยี่ยมเยือน ให้คำปรึกษา แนะนำ และตักเตือนและการประกอบอาชีพแก่เด็ก
- เยี่ยมเยือน ให้คำปรึกษา แนะนำผู้ปกครอง เรื่องการอบรมสั่งสอน
- จัดทำรายงานเสนอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด
- ปลัดกระทรวง มีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ทั่วราชอาณาจักร
- ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ภายใจังหวัดนั้น
- ในสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องไม่ดำเนินการในลักษณะแสวงหาผลกำไรในทางธุรกิจ และต้องมีผู้ปกครองสวัสดิภาพ เป็นผู้ปกครองดูแลและบังคับบัญชา
- สถานรับเลี้ยงเด็ก แสวงหาผลกำไรได้
- ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้ปกครองสวัสดิภาพ
- โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาฝึกอบรมแก่นักเรียน
- นักเรียน นักศึกษาต้องแต่งกายตามโรงเรียนหรือสถานศึกษา
- รัฐบาลให้งบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรียก "กองทุนคุ้มครองเด็ก"
- กองทุนประกอบด้วย
- เงินทุนประเดิมจากรัฐบาลจัดสรรให้
- เงินที่ได้จากงบประมาณประจำปี
- เงินที่ได้จากบริจาคหรือมอบให้
- เงินอุดหนุนจากต่างประเทศ
- ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินจากกองทุน
- เงินและดอกผลที่ได้รับ ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
- มาตรา 71 คณะกรรมการกองทุนคุ้มครองเด็ก มี 9 คน
ตำแหน่ง | จำนวน | |
---|---|---|
ประธาน | ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 1 |
กรรมการ |
|
4 |
ผู้ทรงคุณวุฒิ | ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งได้ไม่เกิน 3 คน และผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน | 3 |
กรรมการและเลขานุการกรรมการ | รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | 1 |
โทษตามพรบ.คุ้มครองเด็กมี 3 ระดับ
หลักการจำ 1:1 3:3 6:6
จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อหา : ขัดขวางเจ้าหน้าที่ , ให้ถ้อยคำเป็นเท็จ , สถานรับเลี้ยงเถื่อน , ใบอนุญาตหมดอายุ , ไม่อำนวยความสะดวก
จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อหา : ทารุณกรรม , การบังคับขู่เค้น , โฆษณาหรือเผยแพร่เพื่อรับเด็กลงเว็บไซต์ , จำหน่ายสุรา บุหรี่
จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อหา : ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรืผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเปิดเผยชื่อเด็ก ลงคลิปนักเรียนตีกัน ภาพหลุด , เจ้าหน้าที่พนักงานคุ้มครองทำร้ายจิตใจ กักขัง ลงโทษด้วยวิธีรุนแรง
เกร็ดความรู้
เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน หมายถึง เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ หรือเด็กที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฎบิดามารดา หรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายถึง ครอบครัวยากจน บิดามารดาหย่าร้าง แยกกันอยู่ ต้องรับภาระหน้าที่ครอบครัว ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เด็กพิการ หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าจะตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร ประกอบอาชีพหรือสภาพแวดล้อมหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
ทารุณกรรม หมายถึง กระกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ กระทำผิดทางเพศต่อเด็ก ใช้เด็กให้ทำในลักษณะที่อันตรายหรือขัดต่อกฎหมาย
สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ และมีจำนวน 6 คนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของ ไม่รวมถึงสถานพยาบาล
สถานแรกรับ หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราว เพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพ
สถานสงเคราะห์ หมายถึง สถานที่อุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หมายถึง สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แก่เด็ก
สถานพัฒนาและฟื้นฟู หมายถึง สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดตั้งเพื่อให้การบำบัดรักษา ตลอดจนการศึกษา แนะแนว และฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่ต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นพิเศษ
สถานพินิจ หมายถึง สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
ช่วยเหลือเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าไปเคหสถาน สถานที่ใด ๆ ยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น
นักเรียน เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภท สามัญศึกษา และอาชีวศึกษา หรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
นักศึกษา เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
บิดามารดา บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย
การเลี้ยงดูโดยมิชอบ การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
ครอบครัวอุปถัมภ์ บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร